Skip to main content

หน้าหลัก

ภารกิจและอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ

ภารกิจและอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ

 

              สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

               มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์  แปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากร และบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวงเพื่อบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ ตามภารกิจของกระทรวง โดยมีอำนาจหน้าที่

  1.   ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
  2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง
  3.   แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ
  4.    จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์
  5.    กำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
  6.      พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
  7.       ดูแลงานประชาสัมพันธ์ การต่างประเทศ และพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย
  8.    ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรายได้และค่าจ้างขั้นต่ำ
  9.        วิจัยและพัฒนาด้านแรงงาน
  10.         ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง และเรื่องราวร้องทุกข์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง

                สำนักงานแรงงาน ณ เมืองฮ่องกง

                 มีหน้าที่และภารกิจ ดังนี้

  1. คุ้มครอง ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านการทำงานของแรงงานไทย ในฮ่องกง มาเก๊า และเครือรัฐหมู่เกาะมาเรียนาเหนือ โดย

                    1.1 ดูแลคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยให้ได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดหางาน และคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                    1.2 การตรวจสอบสัญญาการจ้างงานเพื่อให้แรงงานไทยได้รับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจ้างและตามกฎหมายท้องถิ่นที่กำหนดไว้

                    1.3 การตรวจเยี่ยมการทำงาน สภาพการจ้าง สภาพความเป็นอยู่ของแรงงานไทย

                    1.4 รับเรื่องร้องทุกข์จากช่องทางต่างๆ และเจรจาไกล่เกลี่ย เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและแรงงานไทย รวมถึงเป็นตัวแทนของแรงงานไทยในการดำเนินคดีต่างๆ หรือเมื่อแรงงานไทยถูกล่วงละเมิดสิทธิ

                    1.5 ดำเนินการช่วยเหลือส่งแรงงานไทยกลับประเทศในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย รวมถึงกรณีแรงงานไทยผิดกฎหมายถูกจับและเนรเทศ

                    1.6 ประสานงานจัดหาที่พักฉุกเฉินแก่แรงงานไทยที่นายจ้างให้ออกจากงานกระทันหัน หรือลาออกเอง และอยู่ระหว่างรอการเดินทางกลับประเทศ

                    1.7 ให้คำแนะนำ ปรึกษา เกี่ยวกับการทำงานรวมถึงกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง ในฮ่องกง มาเก๊า และเครือรัฐหมู่เกาะมาเรียน่าเหนือ                  

                    1.8  การเยี่ยมแรงงานไทยตามเรือนจำ สถานกักกัน  โรงพยาบาล เป็นต้น

                   1.9  ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้แรงงานไทยได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง

  1.   การส่งเสริมและขยายตลาดแรงงานในฮ่องกง มาเก๊าและเครือรัฐหมู่เกาะมาเรียนาเหนือ

                    2.1 ให้คำปรึกษาแก่นายจ้าง บริษัทจัดหางานในการรับหรือดำเนินการให้แรงงานไทยเข้ามาทำงาน

                    2.2  การประสานงานกับบริษัทจัดหางานท้องถิ่น เพื่อทราบความต้องการแรงงานของนายจ้าง และการสำรวจความต้องการแรงงานจากสถานประกอบการ เช่น ร้านอาหาร เป็นต้น

  1.   ประสาน รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ รายงานสถานการณ์แรงงานและข้อมูลการจ้างงานสถานการณ์การจ้างงานและผลกระทบอันจะส่งผลต่อการจ้างแรงงานไทย
  2.   จัดตั้งทีมอาสาสมัครแรงงานไทยในฮ่องกง มาเก๊าและเครือรัฐหมู่เกาะมาเรียนาเหนือ เพื่อออกเยี่ยมแรงงาน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ให้กำลังใจ และให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่แรงงานใหม่ทั้งในฮ่องกง และมาเก๊า
  3.        เป็นศูนย์จัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรของ กศน. กระทรวงศึกษาธิการ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย
  4.    เป็นศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชฮ่องกง (มสธ. ฮ่องกง) รับลงทะเบียนนักศึกษา บริการจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดสนามสอบ และประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยและนักศึกษา
  5. ดำเนินการจัดกิจกรรม / โครงการ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่แรงงานไทยในด้านต่างๆ  เช่น อบรมความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน อบรมภาษาจีนกวางตุ้ง การใช้คอมพิวเตอร์ โครงการยกระดับฝีมือของพ่อครัว เช่น หลักสูตรการประกอบอาหารไทย การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติประจำปี เป็นต้น
  6.   สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับชุมชนไทย ในฮ่องกง และ มาเก๊า เช่น งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา เทศกาลต่างๆ
  7.    ดำเนินตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง อาทิ เช่น ติดตามคนไทยที่สูญหายในฮ่องกง การให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยาก การให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานไทยผู้ถูกจับกุม (โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ/เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง) ด้วยการเยี่ยมเยียน หรือส่งข่าวให้ญาติ (หากประสงค์)
  8.      ประสานงานให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่แรงงานไทย รวมถึงร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ

447
TOP