Skip to main content

หน้าหลัก

วิธีการเข้ามาทำงาน

วิธีการเข้ามาทำงานที่ฮ่องกง

              การเข้ามาทำงานที่ฮ่องกงขึ้นอยู่กับนโยบายการนำเข้าแรงงานต่างชาติของรัฐบาลฮ่องกง โดยกรมแรงงานฮ่องกง (Department of Employment) กำหนดนโยบายการจ้างงานแรงงานต่างชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติการจ้างงาน (Employment Ordinance) ไว้ ๓ ประเภท ได้แก่

              ๑. นโยบายการจ้างงานทั่วไป (General Employment Policy – GEP)  เป็นการจ้างงานผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับสูง เช่น ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ  โดยไม่กำหนดสัดส่วนการจ้างงาน สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา ๒ ปี และสามารถต่อสัญญาจ้างได้อีกคราวละ ๓ ปี รวมเป็นระยะเวลา ๖ ปี สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ อัตราค่าจ้างลอยตัว ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างนายจ้างลูกจ้าง

             ๒. แผนการจ้างแรงงานเสริม (Supplementary Labour Scheme – SLS) เป็นการนำเข้าแรงงานในระดับกึ่งฝีมือและฝีมือ (Semi- skilled and skilled labour) เช่น ตำแหน่งงานในกิจการอาหารและเครื่องดื่ม   การโรงแรม และภาคก่อสร้าง บริหารงานโดยกรมแรงงานเพื่อช่วยนายจ้างที่มีปัญหาในการหาพนักงานที่เหมาะสมภายในท้องถิ่น ในการนำเข้าแรงงานจากนอกเขตฮ่องกง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องแจ้งกรมแรงงานสำหรับอนุมัติในหลักการเบื้องต้นต่อคณะที่ปรึกษาด้านแรงงาน (Labour Advisory Board) เพื่อพิจารณาอนุมัติการนำเข้าแรงงานต่างชาติ   เป็นรายๆ โดยนายจ้างจะต้องยื่นขอวีซ่าในการอนุญาตเข้าประเทศภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขของการจ้างงานเป็นมาตรฐาน การจ้างงานคราวละไม่เกิน ๒ ปี แรงงานจะยังคงอยู่ภายใต้การจ้างงานโดยตรงของนายจ้างสำหรับงานเฉพาะตามที่ทำสัญญาไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ กรมแรงงานกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย (Statutory Minimum Wage) เช่น กุ๊ก ค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ ๑๖,๘๔๐ เหรียญฮ่องกง  กรมแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายภาษีนำเข้าแรงงานต่างชาติ (Levy) ให้กับกองทุนฝึกอบรมลูกจ้าง (Employee Retraining Fund) เดือนละ ๔๐๐ เหรียญฮ่องกง ต่อแรงงานต่างชาติ ๑ คน เพื่อฝึกอบรมแรงงานท้องถิ่น หลักสูตรที่จัดให้จะมีความหลากหลายครอบคลุมแรงงานท้องถิ่นเป็นรายบุคคล รายสถานประกอบการ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร โครงการฝึกอบรมหลักสูตรทั่วไป (เช่น การยกระดับฝีมือแรงงาน หลักสูตรเฉพาะสำหรับชนกลุ่มน้อย หลักสูตรทักษะเสริม และหลักสูตรสำหรับเยาวชน) โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการ โครงการฝึกอบรมออนไลน์ เป็นต้น 

                ๓. การจ้างผู้ช่วยแม่บ้านต่างชาติ (Employment of Domestic Helper from Abroad)  รัฐบาลฮ่องกงอนุญาตให้มีการนำเข้าแรงงานต่างชาติตำแหน่งผู้ช่วยแม่บ้านในครัวเรือน  โดยไม่จำกัดจำนวน มีการกำหนดสัญญาจ้างงานเป็นมาตรฐาน (Standard Employment Contract – ID 407) ระยะเวลาการจ้างคราวละ ๒ ปี ต่อสัญญาจ้างโดยไม่จำกัด และกำหนดค่าจ้าง ขั้นต่ำตามกฎหมาย (Minimum Allowable Wage)  ๔,๗๓๐ เหรียญฮ่องกง และในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ มีการประกาศปรับขึ้นค่าอาหารของผู้ช่วยแม่บ้านต่างชาติ(ในกรณีที่นายจ้างไม่จัดอาหารให้) จากเดิมเดือนละ ๑,๑๒๑ เหรียญฮ่องกง เป็นเดือนละ ๑,๑๙๖ เหรียญฮ่องกง 


28216
TOP